วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Tourism Industry [บทที่1]




เกาะราชา

การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว เป็น รูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ ซึ่งคล้ายกับกิจกรรมทางการกีฬา หรืองานอดิเรก และการใช้เวลาว่าง นอกจากนี้เมื่อการท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการเดินทาง จึงมีปัญาหาตามมาว่า การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีจุดประสงค์อย่างไร และเดินทางด้วยระยะเวลาเท่าใด

ในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการระชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่ กรุงโรง ประเทศอิตาลี และได้ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากองค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (IUOTO : The International Union of Official Travel organizations ต่อมาได้กลายเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกในปี พ.ศ. 2531 : World Tourism Organization, WTO)


World Tourism Organization


การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะดังนี้
1. เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2. เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
3. เ็ป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่เพื่อการระกอบอาชีพและการหารายได้

นิยามการท่องเที่ยวของการระชุมใน พ.ศ. 2506
(Holloway J. Christopher)
ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า "ผู้เยี่ยมเยือน" (Visitor) จำแนกเป็น
- นักท่องเที่ยว (Tourist)
- นักทัศนาจร (Excursionist)


นักท่องเที่ยวต่างชาติ


นักท่องเที่ยว คือ ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง เพื่อกิจกรรมนันทนาการ การกีฬา วันหยุด ฯล หรือเพื่อประกอบธุรกิจ เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง ปฏิบัติภารกิจบางอย่างหรือการประชุม

นักทัศนาจร คือ ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ (Cruise Travellers แต่ไม่รวมผู้โดยสารผ่าน Transit)
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งผู้มาเยือนตามพำนักได้อีกเช่นกัน ได้แก่

1. ผู้มาเยือนขาเข้า (Inbound Visitor)
- ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอีกประเทศหนึ่ง

2. ผู้มาเยือนขาออก (Outbound Visitor)
- ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในประเทศหนึ่งและเดินทางไปท่องเที่ยวยังอีกประเทศหนึ่ง

3. ผู้มาเยือนภายในประเทศ (Domestic Visitor)
- ผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยู่ เราอาจเรียก ผู้มาเยือนขาเข้า และผู้มาเยือนภายในประเทศว่า ผู้มาเยือนในประเทศ (Internal Visitor) ก็ได้

ส่วนกลุ่มที่ไม่นับรวมอยู่ในสถิติการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้โดยสารผ่าน ผู้เร่รอน ผู้อพยพ ทหารประจำกองทัพ ตัวแทนกงสุล นักการฑูต ผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราว ผู้ย้ายถิ่นฐานถาวร คนงานตามชายแดน


น้ำทะเลใสไล่เฉดสีกับหาดทรายขาวๆ บนเกาะห้อง



วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่ิองเที่ยว
จากคำนิยามของการท่องเที่ยวจะพบว่า วัตถุประสงค์ที่ทำให้การเดินทางไม่ใช่การท่องเที่ยว คือ เดินทางเพื่อประกอบอาชีพและแสวงหารายได้ เพราะฉะนั้น วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยวจึงมีหลายประการสามารถแบ่งออกได้ 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่

1. เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)
2. เพื่อธุรกิจ (Business)
3. เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ



การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)
- เป็นการเดินทางที่มีวัตถุประสงค์ต้องการความเพลิดเพลิน สนุกสนาน รื่นเริง ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวเหล่านี้มีวันหยุดจำกัด วันหยุดที่มีจึงถูกใช้ไปโดยไม่นำเอาเรื่องของภาระหน้าที่ การงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องการหลีกหนีความจำเจของชีวิตประจำวัน เพื่อไปชมหรือสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่ ทั้งนี้รวมถึงการไปเยี่ยมเยือนเพื่อนหรือญาติมิตร (Visitor to Friends and Relatives: VFR) ด้วย อาทิ
การเดินทางไปอาบแดดชายทะเล การเดินทางไปเล่นน้ำตก เป็นต้น



การเดินทางเพื่อธุรกิจ (Business)

- เป็นการเดินทางควบคู่ไปกับการทำงานแต่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่่ี่ไปท่องเที่ยวนั้น นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงการเดินทางเพื่อเข้าประชุม สัมมนา ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและจัดนิทรรศการ หรือที่เรียกว่า MICE
(Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions) ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อาทิ การเดินทางไปประชุมเกี่ยวกับวาระต่าง ๆ การเดินทางไปร่วมงานจัดแสดงสินค้า การเดินทางไปสำรวจตลาด การเดินทางไปท่องเที่ยวของคณะพนักงานที่มีผลงานโดดเด่น เป็นต้น




การเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ
- เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ และสลับซับซ้อนมากกว่าการไปพักผ่อนหรือประชุม สัมมนา อาทิ การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม การเดินทางไปเผยแผ่ศาสนา การเดินทางไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การเดินทางไปแข่งขันกีฬา เป็นต้น






ประเภทการท่องเที่ยว
การแบ่งประเภทการท่องเที่ยวสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ ได้แก่

1. การแบ่งตามสากล
- การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Visitor)
- การท่องเที่ยวเข้ามาภายในประเทศ (Inbound Visitor)
- การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Visitor)

2. การแบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
- การท่องเที่ยวแบบหมู่คณะหรือที่เรียกว่า Group Inclusive Tour : GIT
แบ่งออกเป็นอีก 2 ลักษณะ คือ กรุ๊ปเหมา และกรุ๊ปจัด
- การท่องเที่ยวแบบอิสระ เรียกว่า Foreign Individual Tourism : FIT

* ลักษณะการเดินทางทั้งเป็นหมู่คณะ หรืออิสระนี้ มักจะเกี่ยวข้องกับการให้บริการของบริษัทนำเที่ยว ที่อาจจัดรายการนำเที่ยวไว้ให้แบบสำเร็จรูป หรือที่เรียกว่า Package Tour ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกใช้บริการ หรืออาจจะจัดตามความต้องการของนักท่องเที่ยว (Tailor-made Tour) ก็ได้เช่นกัน.


Package Tour



การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง

การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง จำเป็นต้องพิจารณาถึงกิจกรรมหลักของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น ณ สถานที่นั้น ๆ เป็นหลัก อาจแบ่งออกได้เป็น

1. การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อน อาทิ การเล่นน้ำ การนั่งรถชมเมือง ชมวิวทิวทัศน์ การซื้อของ ฯล
2. การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ ที่จัดอยู่ในกลุ่ม MICE ส่วนกิจกรรมเสริมอาจจะเป็นกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนคลายเครียด ความสนุกสนานเป็นต้น
3. การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ได้แก่
- การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อาทิ การดูนก การดำน้ำดูปะการัง การเดินป่า เป็นต้น
- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา อาทิ การปีนเขา การอาบน้ำแร่ เป็นต้น
- การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น อาทิ การศึกษาแหล่งโบราณสถาน การชมการแสดงรำไทย เป็นต้น
- การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น อาทิ การพักอาศัยอยุ่ร่วมกับคนท้องถิ่น การชมวิถีชีวิตในชนบท เป็นต้น
- การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา จะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ โดยมีการจัดการไว้ล่วงหน้า มีขั้นตอน มีครูผู้สอนที่ชำนาญ มีการฝึกปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ เช่นการเรียนทำอาหารไทย การเรียนมวยไทย เป็นต้น



อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงาน การลงทุน เท๕นิควิชาชีพ เฉพาะ มีการวางแผน การจัดองค์กร และการตลาด เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ หากแต่แตกต่างกันตรงที่ สินค้าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่เรียกว่า สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible goods) และไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้ซื้อ หากแต่ผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหรือบริการ ณ แหล่งผลิต ซึ่งก็คือ สถานที่ที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยว อาทิ ภูเขา ทะเล น้ำตก แหล่งโบราณคดี พระราชวัง สวนสนุก ฯล ซึ่งเมื่อเกิดการซื้อขายสินค้าหรือบริการแล้ว สินค้าและบริการบางประเภทไม่ได้สูญสลายหรือเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ หากแต่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ เพราะนักท่องเที่ยวซื้อสินค้าและบริการเพื่อที่จะเข้ามาท่องเที่ยวที่สถานที่นั้น ๆ นักท่องเที่ยวไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่นั้น ๆ เพียงแต่เข้ามาเยี่ยมชมความงดงามของสถานที่ หรือเมื่อนักท่องเที่ยวตกลงเข้ามาพักแรม ณ โรงแรม นักท่องเที่ยวไม่ได้เป็นเจ้าของห้องพัก เพียงแต่ได้สิทธิในการเข้าพักตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ แต่สินค้าหรือบริการบางประเภทก็มีการสูญสลาย และเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เช่นกัน อาทิ การซื้อสินค้าและบริการประเภท อาหารและเครื่องดื่ม หรือของที่ระลึก เป็นต้น ดังนั้น หากจะกล่าวว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็คงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล.

พายเรือแคนู อีกกิจกรรมหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมบริเวณเกาะห้อง,

เสน่ห์ของเกาะห้องดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะเวียนมาเยือน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการได้แก่
1. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
2. องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก) แบ่งออกเป็น
1. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2. ธุรกิจการคมนานคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ
3. ธุรกิจที่พักแรม
4. ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

องค์ประกอบที่สนัสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม) แบ่งออกเป็น
1. ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2. ธุรกิจการประชุม สัมมนา การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดนิทรรศการ
3. การบริการข่าวสารข้อมูล
4. การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5. การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง


มนต์เสน่ห์แห่งทะเลกระบี่


ความสำคัญของการท่องเที่ยว

ทางด้านเศรษฐกิจ
- สร้างรายได้เป็นเงินตราเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก
- การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการหมุนเวียนและกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น
- การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการนำเอาทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า
- การท่องเที่ยวช่วยลดปัญหาการว่างงาน

ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
- การท่องเที่ยวมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีของมวลมนุษยชาติ
- มีส่วนในการพัฒนา ยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
- ลดปัญหาสังคม เนื่องจากเมื่อคนมีงานทำมีรายได้
- มีส่วนช่วยฟื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
- มีส่วนช่วยให้คนในสังคมรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการรู้จักนำผลิตผลท้องถิ่นมาผลิตเป็นสินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึก หรือของใช้ จำหน่ายนักท่องเที่ยว

ทางด้านการเมือง
- ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- ช่วยส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยและภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดมีแก่ประเทศเพราะนักท่องเที่ยวมักเลือกเดินทางไปประเทศที่มีความปลอดภัยและมั่นคง





อ้างอิงรูปภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น