วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553
Tourism Industry [บทที่4]
องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรมกราท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ
หากไร้ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวแล้ว คงไม่มีนักท่องเที่ยวอยากเดินทางเข้ามายังประเทศนั้น ๆ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
อาจจัดแบ่งแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วยลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ได้แก่
- แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
- แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพ และกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ซึ่งทรัพยากรประเภทนี้ไม่มีต้นทุนทางการผลิตแต่มีต้นทุนในด้านการดูแลรักษา อาทิ ภูเขา น้ำตก ทะเล หาดทราย ฯล
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุดก็กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าทางการท่องเที่ยวได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน อาทิ แห่นางแมว บุญบั้งไฟ สงกรานต์ วิถีชีวิตของชุมชนชาวเขา ไร่นา สวนพืช ผักต่าง ๆ ฯล
แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
อ้างอิง
เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว HT201
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
อ้างอิงรูปภาพ
http://travel.kapook.com/view6580.html
http://travel.kapook.com/view13783.html
http://travel.kapook.com/view14384.html
http://www.oknation.net/blog/klunpang/2009/04/09/entry-2
http://hilight.kapook.com/view/34788
http://travel.kapook.com/view15128.html
http://travel.kapook.com/view15789.html
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=modlek&month=15-08-2009&group=3&gblog=45
http://travel.kapook.com/view4453.html
http://leadership.exteen.com/20090613/entry
น้ำตกเอราวัณ |
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรมกราท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ
หากไร้ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวแล้ว คงไม่มีนักท่องเที่ยวอยากเดินทางเข้ามายังประเทศนั้น ๆ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่
- ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว
- จุดหมายปลายทาง
- สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
อาจจัดแบ่งแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วยลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ได้แก่
- ขอบเขต (จุดมุ่งหมายหลัก,จุดมุ่งหมายรอง)
- ความเป็นเจ้าของ
- ความคงทนถาวร
- ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
- แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
- แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
ดอยกาดผี จ.เชียงราย |
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพ และกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ซึ่งทรัพยากรประเภทนี้ไม่มีต้นทุนทางการผลิตแต่มีต้นทุนในด้านการดูแลรักษา อาทิ ภูเขา น้ำตก ทะเล หาดทราย ฯล
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน |
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุดก็กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าทางการท่องเที่ยวได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ
ประเพณีวันสงกรานต์ |
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน อาทิ แห่นางแมว บุญบั้งไฟ สงกรานต์ วิถีชีวิตของชุมชนชาวเขา ไร่นา สวนพืช ผักต่าง ๆ ฯล
แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
ภาคกลาง
เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี |
ภาคเหนือ
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี จ.แพร่ |
พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.ชัยภูมิ |
ภาคตะวันออก
หาดนางรำ จ.ชลบุรี |
ภาคใต้
อ่าวพังงา |
อ้างอิง
เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว HT201
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
อ้างอิงรูปภาพ
http://travel.kapook.com/view6580.html
http://travel.kapook.com/view13783.html
http://travel.kapook.com/view14384.html
http://www.oknation.net/blog/klunpang/2009/04/09/entry-2
http://hilight.kapook.com/view/34788
http://travel.kapook.com/view15128.html
http://travel.kapook.com/view15789.html
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=modlek&month=15-08-2009&group=3&gblog=45
http://travel.kapook.com/view4453.html
http://leadership.exteen.com/20090613/entry
Tourism Industry [บทที่3]
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว
แรงจูงใจ
-ความต้องการที่จะมีเกียติยศชื่อเสียง
-ความต้องการทางด้านสังคม
-ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
-ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา
-ความต้องการความภาคภูมิใจและการพัฒนาตนเอง
-ความต้องการสร้างสัมพันธภาพ
-ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง
-ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด
- การสำรวจและการการประเมินตนเอง
-การพักผ่อน
-ความต้องการเกียรติภูมิ
-ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
-กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
-การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
-แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
-การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
-การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ
-แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
-แรงจูงใจส่วนบุคคล
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการตังต่อไปนี้
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกันกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะที่ได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
นักเดินทางประเภทแบกเป้ (Backpackers) นักเดินทางแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางในลักษณะนี้อาจสรุปได้เป็น 4 มิติด้วยกันดังต่อไปนี้
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับระบบการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารดำเนินไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานหลัก ๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดและผลักดันให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทางออกจากแหล่งที่ตนเองอาศัยอยู่
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดในทางการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญเหล่านี้ ได้แก่
ปัจจัยทางวัฒนธรรม
วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกินอยู่ วิธีอยู่ วิธีการแต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันอย่างเป็นหมู่คณะ วิธีแสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต
อ้างอิง
เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว HT201
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
อ้างอิงรูปภาพ
http://rayong.kapook.com/00013/
http://www.vcharkarn.com/vblog/16268/6/n/67447/1
http://travel.kapook.com/view2940.html
http://web.chiangrai.net/tourcr/type_tour/cultural.php
http://www.wasi.or.th/wasi/index.php?page=link_p&select_page=1&group_=03&code=02&idHot_new=15
http://www.thaionlinemarket.com/picproduct/7-103/thumbnailshow259817.jpg
http://littlegeog26.blogspot.com/2009/12/blog-post_16.html
http://www.maipaimairoo.com/?p=1285
แรงจูงใจ
แสดงลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow)
- ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
-ความต้องการที่จะมีเกียติยศชื่อเสียง
-ความต้องการทางด้านสังคม
-ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
-ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา
- ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง
-ความต้องการความภาคภูมิใจและการพัฒนาตนเอง
-ความต้องการสร้างสัมพันธภาพ
-ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง
-ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด
- แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น
- การสำรวจและการการประเมินตนเอง
-การพักผ่อน
-ความต้องการเกียรติภูมิ
-ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
-กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
-การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
- แรงจูงในทางท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke
-แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
-การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
-การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ
-แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
-แรงจูงใจส่วนบุคคล
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการตังต่อไปนี้
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกันกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะที่ได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
นักเดินทางประเภทแบกเป้ (Backpackers) นักเดินทางแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางในลักษณะนี้อาจสรุปได้เป็น 4 มิติด้วยกันดังต่อไปนี้
- การหลีกหนี
- การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม
- การทำงาน
- เน้นการคบหาสมาคม
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานหลัก ๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่
- ระบบไฟฟ้า
- ระบบประปา
- ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
- ระบบการขนส่ง (ทางอากาศ,ทางบก,ทางน้ำ)
- ระบบสาธารณสุข
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดและผลักดันให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทางออกจากแหล่งที่ตนเองอาศัยอยู่
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดในทางการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญเหล่านี้ ได้แก่
- ลักษณะทางภูมิศาสตร์
- ลักษณะทางภูมิอากาศ
ปัจจัยทางวัฒนธรรม
วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกินอยู่ วิธีอยู่ วิธีการแต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันอย่างเป็นหมู่คณะ วิธีแสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต
อ้างอิง
เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว HT201
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
อ้างอิงรูปภาพ
http://rayong.kapook.com/00013/
http://www.vcharkarn.com/vblog/16268/6/n/67447/1
http://travel.kapook.com/view2940.html
http://web.chiangrai.net/tourcr/type_tour/cultural.php
http://www.wasi.or.th/wasi/index.php?page=link_p&select_page=1&group_=03&code=02&idHot_new=15
http://www.thaionlinemarket.com/picproduct/7-103/thumbnailshow259817.jpg
http://littlegeog26.blogspot.com/2009/12/blog-post_16.html
http://www.maipaimairoo.com/?p=1285
วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553
Tourism Industry [บทที่2]
ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยว
จากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2
ในสมัยอาณาจักรโรมันการท่องเที่ยวมีทั้ง การท่องเที่ยวภายในประเทศและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ แต่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศนั้นเป็นการท่องเที่ยวที่ไร้พรมแดน เพราะไม่มีอาณาเขตแบ่งแยกดินแดนว่าเป็นดินแดนของอังกฤษ หรือซีเรีย อย่างปัจจุบัน เพราะอาณาจักรโรมันครอบคลุมไปถึงหมด ทุกแห่งใช้เงินตราของโรมัน ท้องทะเลปลอดจากโจรสลัด เพราะมีการลาดตระเวนของทหารโรมัน ภาษาละตินก็เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคนั้น ชาวโรมันเดินทางไปยัง Sicily, กรีซ เกาะ Rhodes เมืองทรอย และอิยิปต์ และเมื่อถึงศตวรรษที่3 ชาวโรมันก็ได้เดินทางไปจนถึงดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Land)
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
จากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2
เมืองบาธ
ในสมัยอาณาจักรโรมันการท่องเที่ยวมีทั้ง การท่องเที่ยวภายในประเทศและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ แต่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศนั้นเป็นการท่องเที่ยวที่ไร้พรมแดน เพราะไม่มีอาณาเขตแบ่งแยกดินแดนว่าเป็นดินแดนของอังกฤษ หรือซีเรีย อย่างปัจจุบัน เพราะอาณาจักรโรมันครอบคลุมไปถึงหมด ทุกแห่งใช้เงินตราของโรมัน ท้องทะเลปลอดจากโจรสลัด เพราะมีการลาดตระเวนของทหารโรมัน ภาษาละตินก็เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคนั้น ชาวโรมันเดินทางไปยัง Sicily, กรีซ เกาะ Rhodes เมืองทรอย และอิยิปต์ และเมื่อถึงศตวรรษที่3 ชาวโรมันก็ได้เดินทางไปจนถึงดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Land)
เมืองบาธ เมืองที่มีสถาปัตยกรรมแบบโรมัน เก่าแก่ และ สวยงาม
มัคคุเทศก์และคู่มือนำเที่ยวในยุคต้นๆ
ความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับการเดินทางในสมัยแรก ๆ มาจากข้อเขียนนักประวัติศาสตร์ และนักเดินทางที่มีความสำคัญที่มีชื่อว่า Herodotus ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 484 ปี ถึง 424 ปีก่อนคริสตกาล อาจเรียกได้ว่าเป็นนักเขียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวคนแรกของโลกก็ว่าได้ Herodotus ได้บันทึกคำบอกเล่าของเหล่ามัคคุเทศก์ในสมัยนั้นเกี่ยวกับเรื่องที่น่าเหลือเชื่อต่าง ๆ
มัคคุเทศก์ในสมัยก่อนคริสตกาลอาจแบ่งออกได้เป็น 2 พวกด้วยกัน
พวกแรก คือ พวกที่เรียกว่า Periegetai มีหน้าที่คอยต้อนฝูงนักท่องเที่ยวให้เข้ากลุ่ม ส่วนอีกพวกหนึ่งเรียกว่า Exegetai เป็นพวกที่ให้ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินค่าตอบแทน มัคคุเทศก์เหล่านี้มักจะถ่ายทอดข้อมูลที่ไม่เป็นจริงแก่นักท่องเที่ยว
หนังสือคู่มือนำเที่ยวปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเอเธนส์ สปาร์ตา และเมืองทรอย นักเขียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชาวกรีก ชื่อ Pausanias ได้เขียนหนังสือชื่อ Description of Greece ขึ้นในระหว่าง คศ. 160-180
Colosseum in Rome
การท่องเที่ยวยุคกลาง
ยุคกลางคือช่วงที่อยู่ระหว่าง คศ. 500-1500 เป็นช่วงต่อจากการล่มสลายของโรมัน แต่ก่อนจะเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ยุคกลางเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคมืด
- เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดดำเนินชีวิตของผู้คน
- วันหยุด เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
- คนชั้นกลางและชั้นสูงนิยมเดินทางเพื่อแสวงบุญ ในระยะทางไกลและเมืองต่าง ๆ
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
- เกิดการพัฒนาทางการค้า
- ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ร่ำรวย นิยมส่งบุตรบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับผู้สอนประจำตัว เป็นระยะเวลา 3 ปี เรียกว่า "แกรนด์ทัวร์" โดยมีจุดมุ่งหมายที่ประเทศ อิตาลี
วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Tourism Industry [บทที่1]
เกาะราชา
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว เป็น รูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ ซึ่งคล้ายกับกิจกรรมทางการกีฬา หรืองานอดิเรก และการใช้เวลาว่าง นอกจากนี้เมื่อการท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการเดินทาง จึงมีปัญาหาตามมาว่า การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีจุดประสงค์อย่างไร และเดินทางด้วยระยะเวลาเท่าใด
ในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่ กรุงโรง ประเทศอิตาลี และได้ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากองค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (IUOTO : The International Union of Official Travel organizations ต่อมาได้กลายเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกในปี พ.ศ. 2531 : World Tourism Organization, WTO)
World Tourism Organization
การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะดังนี้
1. เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2. เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
3. เ็ป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่เพื่อการระกอบอาชีพและการหารายได้
นิยามการท่องเที่ยวของการระชุมใน พ.ศ. 2506
(Holloway J. Christopher)
ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า "ผู้เยี่ยมเยือน" (Visitor) จำแนกเป็น
- นักท่องเที่ยว (Tourist)
- นักทัศนาจร (Excursionist)
นักท่องเที่ยวต่างชาติ
นักท่องเที่ยว คือ ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง เพื่อกิจกรรมนันทนาการ การกีฬา วันหยุด ฯล หรือเพื่อประกอบธุรกิจ เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง ปฏิบัติภารกิจบางอย่างหรือการประชุม
นักทัศนาจร คือ ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ (Cruise Travellers แต่ไม่รวมผู้โดยสารผ่าน Transit)
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งผู้มาเยือนตามพำนักได้อีกเช่นกัน ได้แก่
1. ผู้มาเยือนขาเข้า (Inbound Visitor)
- ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอีกประเทศหนึ่ง
2. ผู้มาเยือนขาออก (Outbound Visitor)
- ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในประเทศหนึ่งและเดินทางไปท่องเที่ยวยังอีกประเทศหนึ่ง
3. ผู้มาเยือนภายในประเทศ (Domestic Visitor)
- ผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยู่ เราอาจเรียก ผู้มาเยือนขาเข้า และผู้มาเยือนภายในประเทศว่า ผู้มาเยือนในประเทศ (Internal Visitor) ก็ได้
ส่วนกลุ่มที่ไม่นับรวมอยู่ในสถิติการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้โดยสารผ่าน ผู้เร่รอน ผู้อพยพ ทหารประจำกองทัพ ตัวแทนกงสุล นักการฑูต ผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราว ผู้ย้ายถิ่นฐานถาวร คนงานตามชายแดน
น้ำทะเลใสไล่เฉดสีกับหาดทรายขาวๆ บนเกาะห้อง
วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่ิองเที่ยว
จากคำนิยามของการท่องเที่ยวจะพบว่า วัตถุประสงค์ที่ทำให้การเดินทางไม่ใช่การท่องเที่ยว คือ เดินทางเพื่อประกอบอาชีพและแสวงหารายได้ เพราะฉะนั้น วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยวจึงมีหลายประการสามารถแบ่งออกได้ 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่
1. เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)
2. เพื่อธุรกิจ (Business)
3. เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ
การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)
- เป็นการเดินทางที่มีวัตถุประสงค์ต้องการความเพลิดเพลิน สนุกสนาน รื่นเริง ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวเหล่านี้มีวันหยุดจำกัด วันหยุดที่มีจึงถูกใช้ไปโดยไม่นำเอาเรื่องของภาระหน้าที่ การงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องการหลีกหนีความจำเจของชีวิตประจำวัน เพื่อไปชมหรือสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่ ทั้งนี้รวมถึงการไปเยี่ยมเยือนเพื่อนหรือญาติมิตร (Visitor to Friends and Relatives: VFR) ด้วย อาทิ
การเดินทางไปอาบแดดชายทะเล การเดินทางไปเล่นน้ำตก เป็นต้น
การเดินทางเพื่อธุรกิจ (Business)
- เป็นการเดินทางควบคู่ไปกับการทำงานแต่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่่ี่ไปท่องเที่ยวนั้น นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงการเดินทางเพื่อเข้าประชุม สัมมนา ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและจัดนิทรรศการ หรือที่เรียกว่า MICE
(Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions) ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อาทิ การเดินทางไปประชุมเกี่ยวกับวาระต่าง ๆ การเดินทางไปร่วมงานจัดแสดงสินค้า การเดินทางไปสำรวจตลาด การเดินทางไปท่องเที่ยวของคณะพนักงานที่มีผลงานโดดเด่น เป็นต้น
การเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ
- เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ และสลับซับซ้อนมากกว่าการไปพักผ่อนหรือประชุม สัมมนา อาทิ การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม การเดินทางไปเผยแผ่ศาสนา การเดินทางไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การเดินทางไปแข่งขันกีฬา เป็นต้น
ประเภทการท่องเที่ยว
การแบ่งประเภทการท่องเที่ยวสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ ได้แก่
1. การแบ่งตามสากล
- การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Visitor)
- การท่องเที่ยวเข้ามาภายในประเทศ (Inbound Visitor)
- การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Visitor)
2. การแบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
- การท่องเที่ยวแบบหมู่คณะหรือที่เรียกว่า Group Inclusive Tour : GIT
แบ่งออกเป็นอีก 2 ลักษณะ คือ กรุ๊ปเหมา และกรุ๊ปจัด
- การท่องเที่ยวแบบอิสระ เรียกว่า Foreign Individual Tourism : FIT
* ลักษณะการเดินทางทั้งเป็นหมู่คณะ หรืออิสระนี้ มักจะเกี่ยวข้องกับการให้บริการของบริษัทนำเที่ยว ที่อาจจัดรายการนำเที่ยวไว้ให้แบบสำเร็จรูป หรือที่เรียกว่า Package Tour ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกใช้บริการ หรืออาจจะจัดตามความต้องการของนักท่องเที่ยว (Tailor-made Tour) ก็ได้เช่นกัน.
Package Tour
การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง
การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง จำเป็นต้องพิจารณาถึงกิจกรรมหลักของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น ณ สถานที่นั้น ๆ เป็นหลัก อาจแบ่งออกได้เป็น
1. การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อน อาทิ การเล่นน้ำ การนั่งรถชมเมือง ชมวิวทิวทัศน์ การซื้อของ ฯล
2. การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ ที่จัดอยู่ในกลุ่ม MICE ส่วนกิจกรรมเสริมอาจจะเป็นกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนคลายเครียด ความสนุกสนานเป็นต้น
3. การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ได้แก่
- การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อาทิ การดูนก การดำน้ำดูปะการัง การเดินป่า เป็นต้น
- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา อาทิ การปีนเขา การอาบน้ำแร่ เป็นต้น
- การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น อาทิ การศึกษาแหล่งโบราณสถาน การชมการแสดงรำไทย เป็นต้น
- การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น อาทิ การพักอาศัยอยุ่ร่วมกับคนท้องถิ่น การชมวิถีชีวิตในชนบท เป็นต้น
- การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา จะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ โดยมีการจัดการไว้ล่วงหน้า มีขั้นตอน มีครูผู้สอนที่ชำนาญ มีการฝึกปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ เช่นการเรียนทำอาหารไทย การเรียนมวยไทย เป็นต้น
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงาน การลงทุน เท๕นิควิชาชีพ เฉพาะ มีการวางแผน การจัดองค์กร และการตลาด เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ หากแต่แตกต่างกันตรงที่ สินค้าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่เรียกว่า สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible goods) และไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้ซื้อ หากแต่ผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหรือบริการ ณ แหล่งผลิต ซึ่งก็คือ สถานที่ที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยว อาทิ ภูเขา ทะเล น้ำตก แหล่งโบราณคดี พระราชวัง สวนสนุก ฯล ซึ่งเมื่อเกิดการซื้อขายสินค้าหรือบริการแล้ว สินค้าและบริการบางประเภทไม่ได้สูญสลายหรือเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ หากแต่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ เพราะนักท่องเที่ยวซื้อสินค้าและบริการเพื่อที่จะเข้ามาท่องเที่ยวที่สถานที่นั้น ๆ นักท่องเที่ยวไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่นั้น ๆ เพียงแต่เข้ามาเยี่ยมชมความงดงามของสถานที่ หรือเมื่อนักท่องเที่ยวตกลงเข้ามาพักแรม ณ โรงแรม นักท่องเที่ยวไม่ได้เป็นเจ้าของห้องพัก เพียงแต่ได้สิทธิในการเข้าพักตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ แต่สินค้าหรือบริการบางประเภทก็มีการสูญสลาย และเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เช่นกัน อาทิ การซื้อสินค้าและบริการประเภท อาหารและเครื่องดื่ม หรือของที่ระลึก เป็นต้น ดังนั้น หากจะกล่าวว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็คงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล.
พายเรือแคนู อีกกิจกรรมหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมบริเวณเกาะห้อง,
เสน่ห์ของเกาะห้องดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะเวียนมาเยือน
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการได้แก่
1. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
2. องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก) แบ่งออกเป็น
1. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2. ธุรกิจการคมนานคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ
3. ธุรกิจที่พักแรม
4. ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
องค์ประกอบที่สนัสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม) แบ่งออกเป็น
1. ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2. ธุรกิจการประชุม สัมมนา การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดนิทรรศการ
3. การบริการข่าวสารข้อมูล
4. การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5. การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง
มนต์เสน่ห์แห่งทะเลกระบี่
ความสำคัญของการท่องเที่ยว
ทางด้านเศรษฐกิจ
- สร้างรายได้เป็นเงินตราเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก
- การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการหมุนเวียนและกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น
- การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการนำเอาทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า
- การท่องเที่ยวช่วยลดปัญหาการว่างงาน
ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
- การท่องเที่ยวมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีของมวลมนุษยชาติ
- มีส่วนในการพัฒนา ยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
- ลดปัญหาสังคม เนื่องจากเมื่อคนมีงานทำมีรายได้
- มีส่วนช่วยฟื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
- มีส่วนช่วยให้คนในสังคมรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการรู้จักนำผลิตผลท้องถิ่นมาผลิตเป็นสินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึก หรือของใช้ จำหน่ายนักท่องเที่ยว
ทางด้านการเมือง
- ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- ช่วยส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยและภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดมีแก่ประเทศเพราะนักท่องเที่ยวมักเลือกเดินทางไปประเทศที่มีความปลอดภัยและมั่นคง
อ้างอิงรูปภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)